ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้
วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้
ปี พ . ศ . 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น
ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น . อ . หลวงสุภชลาศัย ร . น . ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา
จนกระทั่งปี พ . ศ . 2500 ได้มีการจัดตั้ง " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี
ความมุ่งหมายของกีฬาวอลเลย์บอล
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
2. เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทักษะเบื้องต้นต่างๆ ของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้มีควมสามารถในการเล่นทีมได้อย่างถูกต้องและฉลาด
4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกติกาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
5. เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์
6. เพื่อส่งเสริมให้มีนิสัยรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา
8. เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนาน และเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
9. เพื่อปลูกฝังนิสัยให้รู้จักกการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
อุปกรณ์
สนามแข่งขัน
สนามแข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์เรียบ และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบไม่มีสิ่งกีดขวาง มีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง 18 ยาว 9 เมตร โดยมีบริเวณรอบๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือเพดาน อย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งระดับนานาชาติ ต้องมีบริเวณที่วางด้านข้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร และบริเวณด้านหลังไม่น้อยกว่า 8 เมตรเพดานด้านบนสูงไม่น้อยกว่า 12.5 เมตร
เส้นเขตสนาม
เส้นทุกเส้นต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
เส้นแบ่งแดน
เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน อยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกลางจากจุดกึ่งกลางไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
เส้นเขตแดน
1. เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกของแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความกว้างออกไปนอกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด
2. เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือเส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น
3. เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในแนวสมมุติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก
แสงสว่าง
แสงสว่างของสนามควรอยู่ที่ 500 - 1500 วัตต์
ตาข่าย
มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.50 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
แถบข้าง
ใช้แถบสีขาวกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดอยู่ที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
เสาอากาศ
ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.80 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่ายนอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นขึ้นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
ความสูงของตาข่าย
ได้แก่ ตาข่าย ของทีมชายสูงจากพื้น 2.43 เมตร ทีมหญิงจะสูงจากพื้น 2.24 เมตร วัดที่จุดกึ่งกลางของสนาม
เสาขึงตาข่าย
ควรจะมีลักษณะกลมหรือเรียบทั้ง 2 เสาซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงจะต้องยึดติดกับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 - 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย
ลูกบอล
ลูกบอลจะต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน ต้องมีสีที่สว่าง เส้นรอบรูป 65 - 67 ซม . มีน้ำหนัก 260 - 270 กรัม แรงอัด 0.400-0.450 กรัม / ตร . ซม .
ใช้ลูกบอล 3 ลูก
การแข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีคนคอยเก็บลูกบอลให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
ผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ใน 1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน แพทย์ 1 คนนักกีฬาลงแข่งขันตลอดเวลา 6 คน
เครื่องแต่งกาย
ใช้กางเกงขาสั้น เสื้อยืดแขนยาวหรือแขนสั้น ถุงเท้า จะต้องสะอาด และแบบเดียวกัน สีเดียวกันทั้งทีม รองเท้าเป็นยางหรือหนังไม่มีเส้น ในการแข่งขันระดับโลก รองเท้าจะต้องมีสีเดียวกัน ( ยกเว้นเครื่องหมายการค้า ) ติดหมายเลขเรียงกันตั้งแต่ 1 - 12 เบอร์ติดที่กลางหน้าอกมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และกลางหลัง มีความสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อขณะแข่งขันได้แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม
รูปแบบการแข่งขัน
ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนและต้องมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมที่ชนะในเซตนั้น ใน กรณีที่ได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันต่อไปจนกว่าทีมใดหนึ่งจะมีคะแนนนำทีมฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน เช่น 26 : 24 หรือ 27 : 25 เป็นต้น
กติกาการแข่งขัน
กติกา และ วิธีดู
การแข่งขัน
ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก ( ได้ 4 ครั้ง ) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3 ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การบล็อก
ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก
ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม . ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
แนะนำการดูวอลเลย์บอล
วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่เล่นโดยทีม 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะการเล่นอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนเล่นกันได้แพร่หลาย กีฬาชนิดนี้จัดเป็นกีฬานันทนาการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก
จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน แต่ละทีมจะสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้ามสัมผัสบอลแค่ครั้งเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกก็คือ การรับลูก เสิร์ฟ จากฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่ 2 คือ การ set บอลขึ้นบนอากาศ เพื่อให้ครั้งที่ 3 ซึ่งปกติจะใช้ตบลูกบอลทำได้อย่างสะดวก
การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการ เสิร์ฟ ลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟ ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม การเล่นจะดำเนินไปจนลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา
ส่วนการนับคะแนนนั้น การแข่งขัน วอลเลย์บอล จะมีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูกถ้าฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ชนะการเล่นลูกนั้นก็จะได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นทั้งหมดต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง
จะมีผู้เล่นอยู่ในทีมๆละอย่างมาก 12 คน และอย่างน้อย 6 คน แต่จะลงสนามได้ทีมละ 6 คน ผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามอาจจะเล่นตลอดเกมหรืออาจเปลี่ยนตัวได้ตลอด ผู้เล่นที่เป็นผู้เสิร์ฟจะเป็นตำแหน่งหลังขวาสุด ซึ่งตำแหน่งของผู้เล่นทุกคนจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องหมุนเวียนแบบทวนเข็มนาฬิกาเมื่อได้สิทธิเปลี่ยนเสิร์ฟ ยกเว้นก็ต่อเมื่อขณะที่กำลังเล่นลูกอยู่ นอกจากนี้ในส่วนของนักกีฬา ยังมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero player) ซึ่งเป็นผู้เล่น 1 ใน 12 คน แต่สวมเสื้อที่มีหมายเลขและสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถเปลี่ยนตัวไปแทนผู้เล่นที่อยู่ในแดนหลังได้เมื่อลูกตายและก่อนที่ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ โดยไม่นับเป็นการเปลี่ยนตัวเข้าออกปกติ
สำหรับผู้ตัดสินวอลเลย์บอล จะมี 2 คน คือ ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำหน้าที่ชี้ขาดอยู่บนเก้าอี้ตัดสิน และผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 ขณะเดียวกันจะมีผู้กำกับเส้นอีก 4 คน
การนับคะแนน แรลลี่พอยต์ หรือนับทุกลูกที่ลูกตาย จากเซ็ตที่ 1 ถึง เซ็ตที่ 4 กรณีที่เล่น 3 ใน 5 ฝ่ายเสิร์ฟ เล่นลูกจะนับทีละ 1 คะแนน แต่ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำเสียหรือฟาวล์ จะเสียคะแนนและจะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเล่น โดยนับคะแนนลักษณะเดียวกัน จนกว่ามีทีมใดได้ครบ 25 คะแนนก่อน เป็นทีมชนะในเซ็ตนั้น หลังจากนั้นเริ่มต้นเล่นกันใหม่ จนกว่าจะรู้ผลแพ้ชนะซึ่งโดยปกติจะแข่งกันหาผู้ชนะ 3 ใน 5 เซต
การแข่งขันในเซตตัดสิน ( เซตที่ 3 หากแข่งขันระบบ 2 ใน 3 หรือ เซตที่ 5 ในระบบ 3 ใน 5 จะแข่งขันแบบแรลลี่พอยต์ หรือนับแต้มทุกแต้มที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกเสีย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือไม่ก็ตาม ฝ่ายใดทำลูกเสียหรือผิดกติกา จะเสียแต้มและเสียสิทธิเสิร์ฟด้วย เซตนี้จะเกมที่ 15 แต้ม ไว้แต่มีกรณีดิวส์ จะต้องมีแต้มห่างกัน 2 แต้ม
นอกจากนี้ยังมีกติกาเบื้องต้นบางอย่างที่ควรรับรู้ เช่น ตำแหน่งการเสิร์ฟ ได้เปลี่ยนใหม่ นักกีฬาสามารถเสิร์ฟจุดใดก็ได้ โดยจะต้องไม่เหยียบเส้นหลังสนามเท่านั้น